|
||
ทำไมเด็กที่เรียนเก่งหลายๆคน สอบเข้าไม่ได้ สนามสอบ สาธิต ม.น. และ จุฬาภรณ์ อาจจะทำให้ผู้ปกครองหลายๆท่าน ผิดหวังและสมหวัง กันไปแล้ว เมื่อต้นเดือนมกราคม และ ล่าสุดปลายกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนมากแล้วจะผิดหวังกันมากกว่า โดยเฉพาะ เด็กที่เรียนได้อันดับต้นๆในห้อง กลับสอบไม่ติด ซึ่งอาจจทำให้ผู้ปกครองหลายๆคน เกิดความวิตกว่า แล้ว สนามที่เหลืออีก 2 สนามสอบจะเป็นอย่างไร ก็ต้องลุ้นกันต่อไป ผมมีข้อแนะนำดีๆ ที่เด็กหลายๆคนที่เป็นเด็กที่เรียนเก่งทั้งหลาย น่าจะรับรู้เอาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบในสนามสอบครั้งต่อๆไป ถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมเด็กที่เรียนเก่งหลายๆคนจึงสอบไม่ได้ แต่เด็กที่เรียนอ่อนกว่ากลับสอบเข้าได้มาฝากครับ สิ่งที่สำคัญในการสอบ คือ เวลา เวลาจะเป็นตัววัดว่าใครที่เก่งกว่า แก้ปัญหาได้ดีกว่า เมื่อมีเวลาเท่าๆกัน ข้อสอบคณิตศาสตร์ เวลาเฉลี่ยต่อข้อจะไม่เกิน 3.5 นาที หากทำข้อสอบโดยไม่ดูเวลา ไม่วางแผน จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน และ เสียโอกาสในการทำข้อสอบในข้อท้ายๆ ซึ่งอาจจะมีข้อง่ายๆรออยู่ เด็กเก่งหลายๆคน เป็นเด็กที่เรียนเก่ง ทำข้อสอบได้ ฝึกทำข้อสอบเก่าๆ ก็ทำได้หมดเกือบทุกๆข้อ แต่หลายๆข้อที่ทำได้อาจจะใช้เวลามากกว่า 5 นาที เรียกว่า ทำเรื่อยๆ เมื่อเข้าสอบในสนามจริง แรงกดดันจะมีมาก เวลาในการทำข้อสอบจะมากกว่าตอนซ้อมทำก็เป็นไปได้ เด็กเก่งหลายๆคน จะไม่ค่อยยอมแพ้ในการหาคำตอบของข้อยากๆ ทำให้เสียเวลาคิดข้อยากๆ ไปหลายนาที ขณะที่เด็กที่คิดเป็น เขาจะข้ามข้อยากๆไปก่อน หรือ บางคนก้กามั่วไปก่อนเลยก็มี เด็กเก่งหลายๆคน จึงมักทำข้อสอบไม่ทัน ขณะที่เด้กบางกลุ่มกลับทำข้อสอบทัน แล้วได้คะแนนสูสีกันก็มี เด็กเก่งที่ต้องการสอบเข้าได้ เวลาฝึกทำข้อสอบเก่าๆ หรือแบบฝึกหัดต่างๆ ควรจะฝึกเรื่อง ความเร็ว + แม่นยำ ในการทำข้อสอบด้วย แต่ละข้อควรจะไม่เกิน 5 นาที(โดยเฉลี่ย) ควรใช้หลักที่ว่า ข้อไหนมองดูแล้วว่ายาก ให้ข้ามไปก่อน ถ้าเวลาเหลือ ค่อนย้อนกลับมาทำภายหลัง หลักง่า่ยๆในการวางแผนทำข้อสอบ เด็กหลายๆคน วางแผนทำข้อสอบไม่เป็น จริงๆแล้วข้อสอบที่เราทำได้นั้น จะแบ่งเป็นข้อที่ใช้เวลามาก กับ ใช้เวลาน้อย (ประมาณ 3 นาที) ข้อที่ใช้เวลาน้อยให้ลงมือทำก่อน ข้อใช้เวลามากๆ(เกิน 5 นาที) ให้ข้ามไปก่อน รอบแรกๆ ให้เลือกทำเฉพาะข้อที่เราทำได้ ใช้เวลาน้อย ไล่ไปจนถึงข้อสุดท้าย จากนั้น ให้วนกลับมาทำข้อที่เราทำได้ แต่ใช้เวลามาก ในรอบที่ 2 ข้อที่ยากมากๆ คิดไม่ออก ให้ไปทำในรอบท้ายๆ ให้ใช้หลักการนี้ในการทำข้อสอบ ยิ่งเราวนทำหลายๆรอบ จะมีโอกาสได้คะแนนเยอะขึ้น คนที่ทำข้อสอบแบบรวดเดียวโดยไม่ข้ามข้อเลย จะมีโอกาสได้คะแนนน้อยกว่า เพราะ การทำไม่ข้ามข้อ หากเจอข้อยากๆ หรือ คิดคำตอบไม่ตรงกับตัวเลือก เด็กกลุ่มนี้ จะกาคำตอบทันที เด็กกลุ่มนี้ จึงมักทำข้อสอบได้ทัน และ ออกก่อนเวลาสอบเสมอๆ และ มักสอบได้คะแนนไม่ดี (ยกเว้นพวกที่เก่งจริงๆ ครับ) หลักสำคัญ ถ้าคิดแล้วได้คำตอบไม่ตรง ห้ามกามั่วก่อนเด็ดขาด ให้กลับไปคิดใหม่อีกครั้ง หรือ ข้ามไปก่อน แล้วค่อยกลับมาทำใหม่ในรอบหลังๆ เด็กที่สอบได้คะแนนไม่ดี มักจะมั่วก่อน คิดได้คำตอบไม่ตรงก็จะกาข้อที่ตัวเลขใกล้เคียง เด็กกลุ่มนี้ จึงทำข้อสอบได้ทันเวลา ไม่ว่าข้อสอบจะยากแค่ไหน ก็จะทำเสร็จก่อนเวลาเสมอๆ เด็กที่สอบได้ มักจะทำข้อสอบเสร็จไม่ทันเวลา อาจจะไม่ทันเพียง 5 -10% ของข้อสอบทั้งหมด ดังนั้น หากต้องการสอบเข้าได้ การวางแผนทำข้อสอบ ก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้เด็กหลายๆคนที่เรียนระดับปานกลางสอบเข้าได้ ขณะที่เด็กที่เรียนเก่งๆ หลายๆคน สอบไม่ติดก็มีตัวอย่างให่เห็นอยู่เป็นประจำ หลักที่ผมใช้ในการสอบแข่งขัน คือ เลือกทำเฉพาะข้อที่คิดว่าเราทำได้ก่อน ข้อที่ลงปากกาทำในรอบแรกๆ จะต้องได้คะแนนจากข้อสอบนั้น พยามยามทำข้อสอบให้ได้อย่างน้อย 50% ของจำนวนข้อสอบ ซึ่งเราจะมีคะแนน 50% แน่นอน ข้อที่เหลือ ที่ไม่มั่นใจ หรือ ทำไม่ได้ มั่วๆไป ก็น่าจะได้คะแนนเพิ่มมาซัก 10 - 15% วิชาคณิตศาสตร์ ในการสอบแข่งขัน สอบได้คะแนนเกิน 50% ก็ถือว่า เทพแล้วครับ โอกาสจะสอบเข้าได้ มีค่อนข้างมากกว่าเด็กที่สอบได้ต่ำกว่า 50%
|
|
|